สืบเนื่องจากเหตุการณ์การเสียชีวิตของ “มาร์ก วิเวียน โฟเอ้” อดีตนักฟุตบอลชื่อดังของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี้ กลายเป็นอีกหนึ่งในเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ของวงการฟุตบอลเลยก็ว่าได้ เพราะการเสียชีวิตในระหว่างการแข่งขันของเขานั้น ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในวงการฟุตบอลเป็นอย่างมาก กระทั่งนำมาสู่การพัฒนามาตรการช่วยชีวิตเบื้องต้นให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จนกลายเป็นมาตรฐานระดับสากลในที่สุด สร้างความเชื่อมั่นให้แก่บรรดาเหล่านักฟุตบอลรุ่นหลังยิ่งขึ้น และแม้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะผ่านระยะเวลามามากกว่า 18 ปีแล้ว แต่แฟนๆ หลายคนยังคงจดจำเหตุการณ์ครั้งนั้นได้อย่างแม่นยำเสมอมา
“มาร์ก วิเวียน โฟเอ้” นับว่าเป็นเคสแรกๆ ที่แฟนบอลให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ โดยหลายคนสามารถจดจำภาพนาทีที่เขาล้มตัวลงกลางสนามฟุตบอลแบบกะทันหันได้เป็นอย่างดี จนกระทั่งต่อมามีการนำตัวของเขาออกไปปฐมพยาบาลเบื้องต้นข้างสนามทันที แม้ว่าจะพยายามช่วยยื้อชีวิตไว้อย่างเต็มที่แล้ว แต่น่าเสียดายเพราะไม่สามารถยื้อชีวิตเอาไว้ได้สำเร็จ จนกระทั่งเกิดความสูญเสียในเวลาต่อมา สร้างความสะเทือนใจให้แก่แฟนๆ ที่กำลังติดตามรายการแข่งขันฟีฟ่า คอนเฟเดอเรชั่นส์ คัพ 2003 อย่างที่สุด ส่วนทางฝั่งของเพื่อนร่วมทีมจากสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี้ ก็มีความรู้สึกเศร้าสลดใจมากเช่นเดียวกัน นำมาสู่การเรียกร้องมาตรการด้านความปลอดภัยสำหรับการช่วยเหลือชีวิตกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
แน่นอนว่าหลังจาก “มาร์ก วิเวียน โฟเอ้” เสียชีวิตในระหว่างการแข่งขันฟีฟ่า คอนเฟเดอเรชั่นส์ คัพ 2003 สร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่วงการฟุตบอลอยู่มากทีเดียว โดยเฉพาะมาตรการช่วยเหลือชีวิตในเบื้องต้นกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ ปรากฏว่าเกิดการพูดถึงอาการหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน หรือมีชื่ออาการว่า “Sudden Cardiac Arrest” ซึ่งอาการดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นได้กับทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม แม้ว่าร่างกายจะมีความแข็งแรงขนาดไหน ล้วนแล้วแต่มีโอกาสเกิดอาการนี้กันทั้งนั้น จึงต้องนำประเด็นเหล่านี้มาเข้าสู่กระบวนการถกเถียงเพื่อหาทางออกอย่างเป็นรูปธรรมในที่สุด จนกระทั่งเกิดการนำมาปฏิบัติแบบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทางด้านของ FIFA มีความต้องการอยากให้ทุกคนมีความเข้าใจในประเด็นดังกล่าว โดยเฉพาะบรรดาเหล่าทีมแพทย์ทั้งหลายบริเวณขอบสนาม ซึ่งต้องผ่านการเข้ารับการอบรมขั้นตอนช่วยเหลือชีวิตในเบื้องต้นกรณีพบนักฟุตบอลหรือเจ้าหน้าที่เกิดอาการ “Sudden Cardiac Arrest” แบบกะทันหัน ซึ่งหากนักฟุตบอลล้มลงไปกับพื้น โดยไม่ได้กระทบกับนักฟุตบอลคนอื่นๆ และไม่มีอาการตอบสนองใดๆ ก็ตาม บรรดาเหล่าทีมแพทย์สามารถวิ่งเข้าไปเร่งช่วยเหลือได้ทันที ไม่จำเป็นต้องรอจนกว่าทางผู้ตัดสินจะส่งสัญญาณ เพราะทาง FIFA มีความเข้าใจดีว่าทีมแพทย์จำเป็นต้องช่วยเหลือผู้ป่วยภายในเวลาประมาณ 2 นาที เพื่อดำเนินการขั้นตอนทำ CPR รวมถึงใช้เครื่อง AED กระตุ้นหัวใจด้วยความรวดเร็วที่สุด เพราะหากยิ่งปล่อยเวลาไว้นานมากเท่าไหร่ โอกาสในการรอดชีวิตก็จะน้อยลงตามไปด้วยเช่นกัน